วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 1 

วันศุกร์ ที่ 13 มกราคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.

-ในสัปดาห์นี้เป็นวันแรกที่ได้พบอาจารย์ อาจารย์ได้แจกแนวการสอน (Course  Syllabus) และอธิบายการเรียนการสอน 


-จากนั้นก็จะเป็นการเรียนการสอนตามใบงานที่อาจารย์ได้แจกให้นักศึกษาทุกคน

*เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs)*
*เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (Early Childhood with special needs )*

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
  1. ทางการแพทย์  = เด็กพิการ 
  2. ทางการศึกษา  =  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเองและแต่ละคนได้รับการศึกษาไม่เหมือนกัน
สรุป คือ เด็กที่แตกต่างจากเด็กทั่วๆไป และปรัชญาของเรียนรวมคือ All Children can Learn 

พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1. พัฒนาการ = การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ = พัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไปในทุกๆด้าน
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
  1. ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  3. ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  4. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  1. พันธุกรรม = ติดตัวมาตั้งแต่เกิดหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผิวเผือก , เท้าแสนปม , ปากเหว่ง เพดานโหว่ , ธาลัสซีเมีย , ดาว์ซินโดรม
  2.  โรคของประสาท = อาการชัก เกิดจากระบบประสาททำงานผิดปกติ
  3.   การติดเชื้อ = อยู่ในครรภ์ติดเชื้อที่รุนแรง
  4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม = ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
  5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด = ขาดออกซิเจน รกพันคอ ดูดน้ำคล้ำออกไม่ทัน
  6. สารเคมี = ตะกั่ว แอลกอฮอล์ นิโคติน
  7.  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
  8. สาเหตุอื่นๆ = อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 



แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
  • การซักประวัติ
  • การตรวจร่างกาย
  • การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
  • การประเมินพัฒนาการ
-หลังจากนั้นก็จะเป็นการวาดรูปทดสอบพัฒนาการตามนักทฤษฎี ของกีเซล



ประเมินตัวเอง
-ในวันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี จดตามที่อาจารย์บอกและสอน

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆวันนี้ตั้งใจเรียนไม่ค่อยคุยกัน และเมื่อทำแบบทดสอบก็พากันทำอย่างสนุกสนานและตั้งใจ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สอนดีเหมือนเดิมคะ และสอนได้อย่างสนุกสนาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น