การบันทึกครั้งที่ 3
วันศุกร์ ที่ 27 มกราคม 2560
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
-ในวันนี้ยังคงเรียนในหัวข้อเรื่อง "ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"
4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with speech and language disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
หมายถึงเกิดจากการพูดผิดปกติของเสียงและขั้นตอนของเสียง
- ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) = เสียงบางส่วนขาดหาย เพิ่มเสียง เสียงเพี้ยน
- ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech flow disorders) = พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน เว้นวรรคไม่ถูก
- ความบกพร่องของเสียงพูด (voice Disorders) = ความบกพร่องของระดับเสียง เสียงดังหรือค่อยเกินไป คุณภาพเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
หมายถึง บกพร่องทางการสื่อสาร
- การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) = มีความยากลำบากในการใช้ภาษา สร้างประโยคไม่ได้
- ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia = อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
Gerstmann's syndrome
- ไม่่รู้ชื่อนิ้ว
- ไม่รู้ซ้ายขวา
- คำนวณไม่ได้
- เขียนไม่ได้
- อ่านไม่ออก
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with physical and health impairments)
หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน มีโรคประจำตัว มีปัญหาระบบประสาท
โรคลมชัก
- การชักในช่วงเวลาสั้นๆ = ไม่อันตราย ใช้เวลา 5-10 วินาที
- อาการชักแบบรุนแรง = ใช้เวลา 2-5นาที
- อาการชักแบบ Partial complex =มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที เป็นอาการแปลกๆ
- อาการไม่รู้สึกตัว = หายากเกิดขี้นในระยะสั้น
- ลมบ้าหมู = อันตรายมาก ชักแล้วหมดสติ และหมดความรู้สึก
ซีพี (Cerebral palsy)
เกิดจากระบบประสาทสมองพิการ แต่ไม่มีผลต่อสติปัญญา
- กลุ่มแข็งเกร็ง = อัมพาตครึ่งซีก อัมพาตครึ่งท่อนบน อัมพาตครึ่งท่อนล่าง อัมพาตทั้งตัว
- กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
- กลุ่มอาการแบบผสม
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ
- จากนั้นอาจารย์ก็จะให้้นักศึกษาออกมาทำท่าทางของกลุ่มอาการต่างๆพร้อมยกตัวอย่างมีวิดิโอให้ชมอีกด้วย
ประเมินตัวเอง
-สัปดาห์นี้เรียนค่อนข้างสนุกดิฉันได้ออกไปแสดงตัวิย่างให้เพื่อนๆและอาจรย์ได้ดูด้วยค่ะ
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมดีมากๆเลย
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ได้สอนเนื้อหาและยังมีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้ดูและศึกษาอีกด้วยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น