วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 18 

วันศุกร์ ที่ 12 พฤษภาคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.



สอบปลายภาค

การบันทึกครั้งที่ 17 

วันศุกร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.



สอบปลายภาค

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 16 

วันศุกร์ ที่ 28 เมษายน 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่อง Picture Exchange Communication System (PECS)
บทบาทครู
•ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

  1. ทักษะทางสังคม

-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
  • กิจกรรมการเล่น
  • ยุทธศาสตร์การสอน
  • การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
     2.ทักษะภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
  • พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
  • ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
     3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
  • การสร้างความอิสระ
  • ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • หัดให้เด็กทำเอง
  • จะช่วยเมื่อไหร่
  • ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
  • ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • การเข้าส้วม
      4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

  • เป้าหมาย
  • ช่วงความสนใจ
  • การเลียนแบบ
  • การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • ความจำ
  • การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ




-เมื่อเรียนเนื้อหาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกาษาออกไปทำกิจกรรมหน้าห้อง 





ประเมินตัวเอง
-เรียนเนื้อหาวันนี้ไม่ได้เตรียมชีทไปเรียนด้วยแต่ก็สามารถจดในสมุดได้อย่างราบรื่น

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจเรียนเหมือนเช่นเคย และทำกิจกรรมหน้าห้องอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
-วันนี้อาจารย์ก็ตั้งใจสอนเนื้อหาอย่างเชี่ยวชาญ

การบันทึกครั้งที่ 15 

วันศุกร์ ที่ 21 เมษายน 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.






ไม่มีการเรียนการสอน

การบันทึกครั้งที่ 14 

วันศุกร์ ที่ 14 เมษายน 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.






ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากปิดสงกรานต์

การบันทึกครั้งที่ 13 

วันศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.





ไม่มีการเรียนการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 12 

วันศุกร์ ที่ 31 มีนาคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.




ไม่มีการเรียนการสอน

การบันทึกครั้งที่ 11 

วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.

**ในสัปดาห์นี้ช่วงแรกจะเป็นการแจกคะแนนสอบกลางภาคให้แต่ละคน**



**จากนั้นก็จะเป็นการเรียนที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษโดยจะเรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ**
  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
  • เกิดผลดีในระยะยาว 
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

3. การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

"การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)"
  • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
  • เครื่องโอภา (Communication Devices) 
  • โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู.
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู 
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน






ประเมินตัวเอง
-ได้เรียนรู้เนื้อหาต่างๆและอาจารย์ยังให้ทำกิจกรรมต่างๆอีกมากมาย

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนกันมากเพราะว่าวันนี้ ส่วนมากพูดคุยเรื่องต่างๆกันมากกว่า

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ตั้งใจสอนเนื้อหาที่อยู่ในบทเรียนและเนื้อหาที่นักศึกษาต้อองการรู้หรือยังไม่รู้

การบันทึกครั้งที่ 10 

วันศุกร์ ที่ 17 มีนาคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.


**ก่อนเริ่มการเรียนก็จะเป็นเป็นการสอบกลางภาคของวิชา การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ใหห้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง **

-จากนั้นก็จะเริ่มการเรียนการสอน "รูปแบบการจัดการศึกษา"
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
"การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ" 
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

1.การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
2.การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
*ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)*
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
 "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

"ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย"
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • “สอนได้”
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

**บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม**
  1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
  2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  4. ครูทำอะไรบ้าง
  • สังเกตอย่างมีระบบ
  • การตรวจสอบ
  • ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • การตัดสินใจ

-จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปดอกบัวจากรูปภาพที่อาจารย์ได้ให้ และให้นักศึกษาสังเกตดอกที่อาจารย์ให้วาดให้อย่างละเอียดและเมื่อวาดรูปลงสีเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ก็ได้ให้เราเขียนในสิ่งที่เห็นลงไปในรูปภาพของเรา 



-จากนั้นอาจารย์ได้ให้ ดูวิดิโอรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ที่มีเด็กพิเศษไปแข่งตีขิมในรายการ น้องสามารถจำเพลงได้เยอะมากมายและการพูดคุยของน้องสามารถพูดคุยกับกรรมการได้อย่างน่าชื่นชม




ประเมินตัวเอง
-ได้สอบกลางภาค ได้เรียนเนื้อหหา นอกเนื้อหามากมาย เป็นความรู้อย่างหนึ่งที่ดิฉันชอบเรียนมากๆเลยค่ะ

ประเมินเพื่อน
-ในวันนี้ทุกคนเตรียมตัวมาสอบอย่างดี และได้ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานดอกบัวของตัวเอง

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สอนดีให้ความรู้เป็นอย่างมากทำให้นักศึกษาทุกๆคนมีความสุข

การบันทึกครั้งที่ 9 

วันศุกร์ ที่ 10 มีนาคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.

"เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์"
"(Children with Behavioral and Emotional Disorders)"

-มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
-แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 
-มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ 
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
1.ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
2.ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
3.ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
  1. ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
  2. ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
  3. สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  4. การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
  5. ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
  6. ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง


สาเหตุ

  • ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
  • ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)


เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 

-Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
-อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )
-สมาธิสั้น (Attention Deficit )

"เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)"
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด





เมื่ออาจารย์สอนและก็จะให้นักศึกษาออกมาสาธิตการแสดงของเด็กพิเศษ



-อาจารย์ได้เปิดวิดิโอของน้องที่เป็นเด็ก "สมาธิสั้น" ให้นักศึกษาได้ดู

ประเมินตัวเอง
-ในสัปดาห์นี้เรียนค่อนข้างสนุกเพราะได้เห็นเพื่อนๆได้ออกไปสาธิตการแสดงเป็นเด็กพิเศษให้ดูเลยทำให้ดิฉันชื่นชอบเป็นอย่างมาก

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนทำให้มีเสียงหัวเราะ สนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์น่ารักให้เพื่อนๆออกไปสาธิตให้ดูทำให้เกิดความสนุกสนานกันมาก

การบันทึกครั้งที่ 8 

วันศุกร์ ที่ 3 มีนาคม 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.

ในสัปดาห์นี้ยังคงเป็นการเรียนรวมอยู่ 

"ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"

"เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) "



  • เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 
สาเหตุของ LD

  • ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  • กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  • แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  • มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  • เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  • งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  • การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  • สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  • เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  • ทำงานช้า

"ออทิสติก (Autistic)"



  • หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
  • ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
  • ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม 
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

ลักษณะของเด็กออทิสติก 
  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
พฤติกรมการทำซ้ำ
  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
-ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
-การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
-การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

ออทิสติกเทียม
-ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
-ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
-ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
-กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
-กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking

**จากนั้นอาจารย์ได้ให้ดูวิดีโอของน้องที่เป็นออทิติก ก่อนปล่อยเป็นวิดีโอที่น้องต้องทำงานและน้องก็จะกลับตลอดแต่แพทย์ ได้พยายามนำแบบทดสอบให้น้องทำจนเสร็จ และน้องติดพูดซ้ำๆคือ 
ขอบคุณครับ**


ประเมินตัวเอง
-ได้นั่งเรียนอยากสนุกสนานและได้ความรู้มากกว่าในชีท 

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจเรียนมีพาอาจารย์ออกนอกเรื่องบ้างแต่เรียนอย่างนี้แล้วก็สนุกดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ตั้งใจสอนนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างมากทำให้นักศึกษาไม่เครียดและผ่อนคลาย

การบันทึกครั้งที่ 7 

วันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.



สอบกลางภาค


วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 6 

วันศุกร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560

เวลาเรียน  08.30-12.30 น.



ได้ไป "ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา หัวข้อการศึกษาแบบเรียนรวม "

ช่วงเช้าจะเป็นการเข้าแถวหน้าเสาธงและก็มีกิจกรรมของเด็กๆโรงเรียนเกษมพิทยา ให้เด็กๆออกมา
เคราพธงชาติด้วยตัวเอง ออกไปแสดงความคิดเห็นและออกกำลังกายช่วงเช้า



-จากนั้นก็จะเป็นการเข้าห้องประชุมเพื่อพูดคุยความเป็นมาของโรงเรียนเกษมพิทยา และการเรียนการสอน 2 แบบ 
-เรียนรวม มี 3 แบบ 1.เรียนร่วมเต็มเวลา   2.เรียนร่วมบางเวลา   3.ห้องพิเศษ
-การอ่านจมี 3 รูปแบบ 


-จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่มกันไปศึกษาตามห้องที่ได้กำหนด ดิฉันได้ห้อง อนุบาล 1/2  เด็กพิเศษชื่อว่า
น้องตะนอย อายุ 7 ปี 


จากการที่ได้ไปศึกษาดูพฤติกรรมน้องตะนอยและวนั้นภายนอกดูเหมือนเด็กปกติเมื่อเพื่อนทำกิจกรรมอะไรน้องก็ทำได้หมด
-น้องเป็นเด็กขี้อาย ไม่กล้าแสดงออกเรื่องคำสั่งสับสน ช่วยเหลือตัวเองได้
-เมื่อถามน้องว่าวาดรูปอะไรน้องตอบได้ ว่าวาดเรือ 
-น้องเอาผลงานที่วาดเสร็จแล้วไปให้คุณครูเขียน สามารถบอกเป็นเรื่อราวได้ คือคำว่า "ตะนอยไปหาพ่อแม่ไปโลตัสไปหาหมอ "
-น้องติดป้ายชื่อได้ หยิบกระดาษทากาวได้
-ครูสั่งให้ตบมือ 1ครั้ง แต่น้องตบมือมากกว่า1ครั้ง 
-น้องเข้ากับเพื่อนได้ดี






-จากนั้นก่อนกลับป้าหนู ก็ได้ถามนักศึกษาทุกคนที่ได้ไปสังเกตน้องๆแต่ล่ะห้องว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทุกคนก็ตอบตามที่ได้สังเกตมาและก็เตรียมตัวกลับ

ประเมินตัวเอง
-สนุกสนานได้ไปดูพี่ปี 5 ฝึกสอน ได้ถามการเป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนว่าเป็นอย่างไร ได้ถามเรื่องน้องๆที่จะศึกษา สังเกตเด็ก

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนได้รับมอบหมายหน้าที่แต่ละห้องและได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดี

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ดูสนุกสนานและมีความสุขมากๆเลยค่ะวันนี้